วันอังคารที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ตอบข้อ 1
ข้อมูล ข่าวสาร  และ สารสนเทศ เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินงานทั้งของภาครัฐและเอกชน ข้อมูลและสารสนเทศเป็นทรัพยากรหลักที่ทุกองค์กรให้ความสำคัญ เนื่องมาจากการดำเนินงานทางธุรกิจมีความซับซ้อนมากขึ้นและมีการแข่งขันกันสูง ทำให้ข่าวสารเป็นสิ่งที่ทุกคนจำเป็นต้องรับทราบและเข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว

พีระมิดความรู้( Knowledge pyramid ) เป็นเครื่องมือที่จะทำให้เข้าใจในความแตกต่างระหว่าง
 Data , Information, Knowledge  และ  Wisdom รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างกัน
1.1    Data ( ข้อมูล ) คือ ข้อเท็จจริงที่ยังไม่มีการปรุงแต่งหรือประมวลผลใดๆ  อาจแบ่งเป็น  3 ประเภท คือ
1.        ข้อเท็จจริงที่เป็นจำนวน  ปริมาณ  ระยะทาง
2.        ข้อเท็จจริงที่ไม่เป็นตัวเลข เช่น ชื่อ ที่อยู่ ประวัติการศึกษา
3.        ข่าวสารที่ยังไม่ประเมิน เช่น รายงาน บันทึก คำสั่ง ระเบียบ กฎหมาย และเหตุการณ์หรือสภาพการณ์ต่างๆ
1.2     Information ( สารสนเทศ ) คือ ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ต่างๆ ที่ได้รับการสรุป คำนวณ จัดเรียง หรือ ประมวลแล้วจากข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบตามหลักวิชาการ จนได้เป็นข้อสรุป เพื่อนำมาเผยแพร่และใช้ประโยชน์ในงานด้านต่าง ๆ
1.3     Knowledge ( ความรู้ ) คือ สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้า หรือ ประสบการณ์ เป็นความรู้ที่ถูกพัฒนาขึ้นอีกระดับหนึ่ง เป็นความรู้ที่ได้ศึกษาจากสารสนเทศ จนเป็นความรู้ของตัวเอง รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติหรือทักษะความเข้าใจ

                      ความรู้ แบ่งเป็น 2 ประเภท
1.       ความรู้ฝังลึก ( tacit knowledge) คือ ความรู้ที่เกิดจากการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ การลงมือปฏิบัติ หรือเป็นพรสวรรค์ของตนเองที่มีอยู่ สิ่งเหล่านี้จัดเป็นความรู้ชนิดที่ยากต่อการถ่ายทอด หรือสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจ
2.        ความรู้ชัดแจ้ง ( explicit  knowledge) คือ  ความรู้ที่สามารถถ่ายทอด  หรือสื่อสารให้ ผู้อื่นเข้าใจได้ ความรู้ประเภทนี้ คือ ความรู้ที่ถูกเขียนออกมาเป็นตำรา  เป็นคู่มือ  หรือเอกสารต่างๆ
1.4    Wisdom (ความฉลาดหรือสติปัญญา) คือ การรวบรวมความรู้ วิเคราะห์  สังเคราะห์    เข้ากับ 
          ประสบการณ์และเหตุผลกลายเป็นภูมิปัญญา


ตอบข้อ 2
ระบบสารสนเทศ ( Information System) หมายถึง การรวบรวมองค์ประกอบต่างๆ  ( ข้อมูล การประมวลผล การเชื่อมโยง เครือข่าย ) เพื่อนำเข้า ( Input ) สู่ระบบใดๆ แล้วนำมาผ่านขบวนการบางอย่าง ( Process ) ที่อาจใช้คอมพิวเตอร์ช่วยเพื่อเรียบเรียง เปลี่ยนแปลงและจัดเก็บ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์(Output)ที่สามารถใช้สนับสนุนการตัดสินใจทางธุรกิจ
Input
 คือ การเก็บรวบรวมสมาชิกหรือองค์ประกอบของระบบ เช่น ข้อมูล ( data) หรือ สารสนเทศ
( Information) เพื่อนำไปทำการประมวลผลต่อไป เช่น การเก็บข้อมูลที่เป็นคะแนนสอบของนักศึกษา เพื่อที่จะนำไปสู่การคำนวณให้เป็นเกรดต่อไป การ Input ข้อมูลอาจจะกระทำได้โดยใช้มือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ได้ขึ้นอยู่กับองค์กรนั้นๆหรืออาจจะเป็นอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล ( input Device) อื่นๆ เช่น สแกนเนอร์ เครื่องบันทึกเสียง เป็นต้น
Process คือ การเปลี่ยนแปลง หรือแปรสภาพข้อมูลที่นำเข้าสู่ระบบ Input เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ output ที่สามารถใช้ในการตัดสินใจได้ โดยการเปลี่ยนแปลง หรือแปรสภาพ นั้นอาจเป็นการคำนวณ เปรียบเทียบหรือวิธีการอื่นๆ ก็ได้ เช่นจากคะแนนสอบของนักศึกษา เมื่อเข้าสู่ระบบแล้วทำการแปรสภาพคะแนนโดยการคำนวณให้เป็นเกรด และจัดเก็บไว้เพื่อใช้ในการออกรายงานผลการเรียนของนักศึกษาต่อไป
Output  คือ ผลลัพธ์ที่ได้เนื่องจากการประมวลผลข้อมูลหรือสารสนเทศ แสดงอยู่ในรูปแบบของ
รายงาน( Report)หรือเป็นแบบฟอร์มต่างๆเพื่อนำไปใช้ในการดำเนินงานทางธุรกิจต่อไป เช่น รายงานผลการเรียนของนักศึกษาซึ่งได้จากการคำนวณเกรดจากคะแนนสอบทั้งหมดของนักศึกษา รายงานยอดการสั่งซื้อวัตถุดิบรายเดือน รายงานยอดค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดรายสัปดาห์ เป็นต้น
Feedback คือ ผลลัพธ์ที่ทำให้เกิดการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ในการนำข้อมูลเข้าหรือ การประมวลผลข้อมูล เช่น ข้อผิดพลาดที่พบจากรายงานต่างๆนั้น ทำให้ทราบได้ว่า ในขณะนำข้อมูลเข้าหรือการประมวลผลนั้น อาจมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นทำให้เกิดการปรับปรุงพฤติกรรมในการทำงานขององค์กรเพื่อให้ความถูกต้องมากขึ้น ดังนั้น Feedback จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการทำงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลเป็นที่น่าพอใจ


ตอบข้อ 3
ระบบสารสนเทศในองค์กร:
องค์กร หมายถึง  บุคคลกลุ่มหนึ่งที่มารวมตัวกัน โดยมีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างร่วมกัน และดำเนินกิจกรรมบางอย่างร่วมกันอย่างมีขั้นตอนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ นั้น โดยมีทั้ง องค์กรที่แสวงหาผลกำไร คือองค์กรที่ดำเนินกิจกรรมเพื่อการแข่งขันทางเศรษฐกิจ เช่น บริษัท ห้างหุ้นส่วน ห้างสรรพสินค้า ร้านค้าต่างๆ และ องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร คือองค์กรที่ดำเนินกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์เป็นหลัก เช่น สมาคม สถาบัน มูลนิธิ เป็นต้น
บทบาทขององค์กรที่มีต่อระบบสารสนเทศ
องค์กรมีผลต่อระบบสารสนเทศในหลายด้านพอสรุปได้ดังนี้คือ
1.การตัดสินใจเรื่องบทบาทของระบบสารสนเทศและการนำระบบสารสนเทศมาใช้ กล่าวคือ องค์กรจะต้องทำการพิจารณาว่าจะนำระบบสารสนเทศมาใช้ให้เกิดความได้เปรียบทาง การแข่งขัน หรือจะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้แทนพนักงานเท่านั้น หรือที่เรียกว่า Automation หากองค์กรให้ความสำคัญต่อระบบสารสนเทศในการเป็นทรัพยากรที่ใช้ในการแข่งขัน องค์กรอาจจะต้องมีการจัดเตรียมงบประมาณในการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้ มากขึ้น เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงานของระบบให้ดีขึ้นเรื่อยๆ
2.การตัดสินใจว่าจะพัฒนาระบบสารสนเทศอย่างไร ได้แก่ การตัดสินใจที่จะพัฒนาระบบสารสนเทศด้วยหน่วยงานภายใน หรือจะจ้างหน่วยงานภายนอกมาทำการพัฒนาที่เรียกว่า Outsourcing หากองค์กรจะทำการพัฒนาด้วยตัวเอง องค์กรจะต้องมีหน่วยงานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศภายในที่มีความรู้ ความสามารถเพียงพอในการจะดำเนินการดังกล่าวได้
3. การตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดตั้งหน่วยงานสารสนเทศ ได้แก่ การตัดสินใจที่จะมีหน่วยงานสารสนเทศภายในแบบใด เช่น เป็นเพียงหน่วยงานสนับสนุนการบำรุงรักษาระบบสารสนเทศเท่านั้น หรือจะเป็นหน่วยงานสารสนเทศหลักในการพัฒนาระบบด้วยตัวเอง
4. การตัดสินใจว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่ต้องคำนึงถึงในการพัฒนาระบบสารสนเทศ เช่น จะต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานหรือไม่เพื่อรองรับการนำระบบสารสนเทศ หรือเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในองค์กร และปรับปรุงอย่างไร เป็นต้น

การนำระบบสนเทศมาใช้ในองค์กร ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กรมากมาย ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
1. ทำให้ผู้บริหารมีสารสนเทศ(Information)มาช่วยในการตัดสินใจ การวิเคราะห์ การจัดการ และการควบคุมที่ดีขึ้น
2.ทำให้ผู้บริหารสามารถจัดการการงานที่มีประสิทธิภาพขึ้น ด้วยการเสริมทางด้านการติดต่อสื่อสารที่สะดวกรวดเร็ว
3.ทรัพยากรสารสนเทศมีความสำคัญมากขึ้น และถือเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรเช่นเดียวกับทรัพยากรด้านอื่นๆ ดังนั้นการจัดสรรงบประมาณการจัดซื้อหรือหรือหามาซึ่งทรัพยากรสารสนเทศถือ เป็นส่วนหนึ่งของแผนกลยุทธ์ขององค์กร
4.ผู้บริหารทุกคนถือว่ามีส่วนสำคัญในการจัดการ การใช้ประโยชน์ของทรัพยากรสารสนเทศ
5. ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง วัฒนธรรม และอิทธิพลทางการเมืองในองค์กรหน่วยงานสารสนเทศหรือหน่วยงานทีมีส่วนในการ เก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลจะมีความสำคัญมากขึ้นในองค์กร
ระบบสารสนเทศที่นำไปใช้ในองค์กร ในปัจจุบันนั้นที่สำคัญมี 3 อย่าง คือ
1.นำไปใช้ในการประมวลผลรายการ และการจัดทำรายงาน
2.นำไปใช้ในการช่วยการตัดสินใจ
3.นำไปใช้ในการช่วยการติดต่อสื่อสาร                                   

 เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT)

เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT) หมายถึง  การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสารสนเทศ ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์ และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศรวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ที่จะรวบรวม จัดเก็บ ใช้งาน ส่งต่อ หรือสื่อสารระหว่างกัน เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องโดยตรงกับเครื่องมือเครื่องใช้ในการจัดการสารสนเทศ ซึ่งได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์รอบข้าง ขั้นตอน วิธีการดำเนินการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ เกี่ยวข้องกับตัวข้อมูล เกี่ยวข้องกับบุคลากร เกี่ยวข้องกับกรรมวิธีการดำเนินงานเพื่อให้ข้อมูลเกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้แล้วยังรวมไปถึง โทรทัศน์ วิทยุ โทรศัพท์ โทรสาร หนังสือพิมพ์ นิตยสารต่าง ๆ
Information Technology หรือ IT คือ การประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในระบบสารสนเทศ ตั้งแต่กระบวนการจัดเก็บ ประมวลผล และการเผยแพร่สารสนเทศ เพื่อช่วยให้ได้สารสนเทศที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ โดยเทคโนโลยีสารสนเทศ อาจประกอบด้วย
1. เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้สำนักงาน อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมต่างๆ รวมทั้งซอฟท์แวร์ทั้งแบบสำเร็จรูปและแบบพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในงานเฉพาะด้าน ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้จัดเป็นเครื่องมือทันสมัย และใช้เทคโนโลยีระดับสูง (High Technology)
2. กระบวนการในการนำอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ข้างต้นมาใช้งาน เพื่อรวบรวม จัดเก็บ ประมวลผล และแสดงผลลัพธ์เป็นสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป เช่น การจัดเก็บข้อมูลในลักษณะของฐานข้อมูล เป็นต้น

สรุป
เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บ ประมวลผล  และเผยแพร่ผ่านทางสารสนเทศ ซึ่งได้แก่ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการสื่อสาร และเทคโนโลยีคมนาคม
         
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
                ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems) (MIS) เป็นระบบเกี่ยวกับการจัด หาคน หรือข้อมูลที่สัมพันธ์กับข้อมูล เพื่อการดำเนินงานขององค์การ เช่น การใช้ MIS เพื่อช่วยเหลือกิจกรรมของลูกจ้าง เจ้าของกิจการ ลูกค้า และบุคคลอื่นที่เจ้ามาเกี่ยวข้องกับองค์การ การประมวลผลของข้อมูลจะช่วยแบ่งภาระการ ทำงานและยังสามารถนำ สารสนเทศมา ช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหาร หรือ MIS เป็นระบบซึ่งรวมความสามารถของผู้ใช้งานและคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศเพื่อการดำเนินงานการจัดการ และการตัดสินใจในองค์การ หรือ MIS หมายถึงการเก็บรวบรวมข้อมูล การ ประมวลผล และการสร้างสารสนเทศขึ้นมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจ การประสานงาน และการควบคุม นอกจากนั้นยังช่วยผู้บริหาร และ พนักงานในการวิเคราะห์ปัญหา แก้ปัญหา และสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ โดย MIS จะต้องใช้อุปกรณ์ทางคอมพิวเตอร์ (Hardware) และ โปรแกรม (Software) ร่วมกับผู้ใช้ (Peopleware) เพื่อก่อให้เกิดความสำเร็จในการได้มาซึ่งสารสนเทศที่มีประโยชน์          
  
ตอบข้อ 4
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology): IT หมายถึงเทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ การประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และวิทยาการต่างๆ เพื่อความสะดวกและเพิ่มความสามารถของคนในกระบวนการจัดการสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในการรวบรวมการจัดเก็บ การประมวลผลของข้อมูล การพิมพ์ การสร้างรายงาน การสื่อสารข้อมูล การเก็บรักษา และเผยแพร่ข้อมูลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพความถูกต้อง ความแม่นยำ และความรวดเร็วให้ทันต่อการนำไปใช้ประโยชน์ เทคโนโลยีสารสนเทศยังรวมถึงเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดระบบการให้บริการ การใช้ และการดูแลข้อมูลด้วย
ะบบสารสนเทศ (Information System): IS  หมายถึง ระบบที่ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ ระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ ระบบเครือข่ายฐานข้อมูลผู้พัฒนาระบบ ผู้ใช้ระบบ พนักงานที่เกี่ยวข้อง มีการใช้ชุดขององค์ประกอบที่ประกอบด้วยกลุ่มคน  กระบวนการ และทรัพยากร (H/W, S/W, P/W) ที่ทำหน้าที่รวบรวม,การตรวจสอบข้อมูล,จัดเก็บข้อมูล,การวิเคราะห์ข้อมูล,การนำข้อมูลไปใช้หรือประมวลผลข้อมูลเพื่อสร้างสารสนเทศ และส่งผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่ได้ให้ผู้ใช้เพื่อช่วยสนับสนุนการทำงาน,การตัดสินใจ,การวางแผน,การบริหาร,การควบคุม,การวิเคราะห์และติดตามผลการดำเนินงานขององค์กรนั้นๆ โดยอาศัยบุคคลและเทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินการ

ความเหมือนกันของ  IS และ IT คือ วิธีกระบวณการจัดเก็บ รวบรวม การประมวลและแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปสารสนเทศ ยังเป็นการ
นำเสนอสารสนเทศให้เป็นปัจจุบันทันเหตุการณ์เพื่อช่วยเพิ่มความสามารถของคนในกระบวนการจัดการสารสนเทศและช่วยในการแก้ปัญหา
รวมไปถึงเพิ่มความสะดวกสบายในการใช้ข้อมูล
   
ความต่างกันของ  IS และ IT คือ  เทคโนโลยีสารสนเทศ :IT จะเป็นการใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยี ความก้าวหน้ามาประยุกต์ใช้ในการจัดเก็บข้อมูล ประมวลผลรวมไปถึงการเก็บรักษาและเผยแพร่ข้อมูล  แต่ระบบสารสนเทศ :IS  จะเป็นการใช้ระบบ กระบวนการการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลและนำมาเรียบเรียงทำให้เป็นสารสนเทศ
โดยอาศัยบุคคลและคอมพิวเตอร์ในการดำเนินการ

สรุปได้สั้นๆ ได้ว่า 
Technology คือ วิทยาการ ความก้าวหน้า 
System คือ  ระบบ กระบวณการการจัดการ


ตอบข้อ 5

ประเภทขของระบบสารสนเทศ มี 5 ประเภท ได้แก่
 1.   ระบบการประมวลผลทางธุรกิจ    (Transaction Processing System : TPS)
ระบบการประมวลผล เป็นการประมวลผลแบบวันต่อวัน เช่น การรับ-จ่ายบิล ระบบควบคุมสินค้าคงคลัง ระบบการรับ-จ่าย สินค้า เป็นต้น ใช้งานในระดับผู้ปฏิบัติการ ระบบนี้ เป็นระบบสารสนเทศลำดับแรกที่ได้รับการพัฒนาให้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์

 2 . ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ    (Management Information System : MIS)
 คือ ระบบที่เกี่ยวข้องกับผู้ บริหารที่ต้องการการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้ประโยชน์มากกว่าการ ช่วยงานแบบวันต่อวัน ประกอบไปด้วยโปรแกรมต่าง ที่จัดทำขึ้นเป็นพิเศษเพื่อขยายขอบเขตความสามารถของธุรกิจ

3.  ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System : DSS)
 คือระบบที่ทำหน้าที่จัดเตรียม สารสนเทศเพื่อช่วยในการตัดสินใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อช่วย ในการตัดสินใจที่ไม่ได้คาดไว้ล่วงหน้า เช่น การตัดสิน ใจเกี่ยวกับการรวมบริษัทและการหาบริษัทร่วม การขยายโรงงาน ผลิตภัณฑ์ใหม่


4  ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (Executive Information System : EIS)
 คือ EIS ประเภท พิเศษ ที่ถูกพัฒนาสำหรับผู้บริหารระดับสูงโดยเฉพาะช่วย ให้ผู้บริหารระดับสูงที่ไม่คุ้นเคยกับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถใช้ระบบ สารสนเทศได้ง่ายขึ้น โดยใช้เมาส์เลื่อนหรือจอภาพแบบ สัมผัส เพื่อเชื่อมโยงข่าวสารระหว่างกัน ทำให้ผู้ บริหารไม่ต้องจำคำสั่ง


5    ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Artificial Intelligence/Expert System : AI/ES)
 หมายถึง ระบบที่ทำให้เครื่อง คอมพิวเตอร์กลายเป็นผู้ชำนาญการณ์ในสาขาใดสาขาหนึ่ง โดยได้รับ ความรู้จากมนุษย์ผู้เชี่ยวชาญเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์เพื่อให้คอมพิวเตอร์ สามารถวิเคราะห์เหตุผล เพื่อตัดสินใจ ระบบคอมพิวเตอร์นี้ประกอบด้วย ฐานความรู้(Knowledge Base) และกฎข้อวินิจฉัย(Inference Rule) ซึ่งเป็นความ สามารถเฉพาะที่ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถตัดสินใจได้เอง เช่น การวินิจฉัย ความผิดพลาดของรถจักรดีเซลไฟฟ้า โดยใช้คอมพิวเตอร์




เอกสารอ้างอิง

วรพจน์  พรหมจักร     สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า   มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
http://www.kmitl.ac.th/agritech/nutthakorn/04093009_2204/isweb/Lesson%2022.htm.สืบค้นเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2556
http://www.learners.in.th/blog/mooddang/256435.สืบค้นเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2556


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น