วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556

8.5 Knowledge Management (KM)

http://register.utcc.ac.th/KM2553/DATA/Document/KM.ppt
http://www.rdi.rmutk.ac.th/files/jiraporn.ppt
http://www.dloc.go.th/web/wp-content/uploads/2013/06/9km_001.pdf
http://www.ops.go.th/personnel/attachments/170_Integrated%20KM.PDF



8.4 Business Intelligent (BI)

http://office.bangkok.go.th/csad/pdf/bangkoktoday/business_i.pdf
http://www.jba.tbs.tu.ac.th/files/Jba137/Column/JBA137SrisomrukC.pdf
http://61.19.54.141/itc/download/BI.ppt
http://202.28.94.51/web/apisak/300704/Year%202553/Assignment%20Folder/09-Laddawun/Chapter11%20Business%20Intelligence.ppt


8.3 Customer Relationship Management (CRM)

http://tulip.bu.ac.th/~bootsara.p/BC424/BC424_week9.ppt
http://www.carcarecentre.in.th/office/PROGRAM%20CRM%5B1%5DCarCare.ppt
http://www.dsoft.co.th/file_pdf/CRM.pdf
http://www.library.au.edu/library-activities/documents/CRM.pdf



8.2 Supply Chain Management (SCM)

http://202.44.34.134/teacher/FileDL/nattavee96255219515.pdf
http://joomla.ru.ac.th/mbasms/download/GM303/SCM%20%26%20MINOR.ppt
http://www.cs.buu.ac.th/~werapan/321341/Presents/Ch8_SUPPLY%20CHAIN%20MANAGEMENT.ppt
http://www.oae.go.th/ewtadmin/ewt/oae_web/download/download_journal/Logistics_and_SupplyChain.pdf

8.1 Enterprise Resource Planning ( ERP)

http://course.eau.ac.th/course/Download/0240814/ERPData.pdf
http://www.ecitthai.net/assets/ERP2_meaning.pdf
http://www.stjohn.ac.th/engineer/information%20technology/file/Download/erp/chapter%201.ppt
http://www.takkabutr.com/EAU/MIS-2010-2553-EAU/MIS-2010/%E4%B7%C2%20MIS/INTEGRATE/SAP_SAP.ppt

วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2556

บทความ Cloud Computing และ Cloud Storage

บทความเกี่ยวกับคำว่า Cloud Computing และ Cloud Storage
            Cloud Computing คือ วิธีการประมวลผลที่อิงกับความต้องการของผู้ใช้ โดยผู้ใช้สามารถระบุความต้องการไปยังซอฟต์แวร์ของระบบ   Cloud Computing   จากนั้นซอฟต์แวร์จะร้องขอให้ระบบจัดสรรทรัพยากรและบริการให้ตรงกับความต้องการผู้ใช้ ทั้งนี้ระบบสามารถเพิ่มและลดจำนวนของทรัพยากร รวมถึงเสนอบริการให้พอเหมาะกับความต้องการของผู้ใช้ได้ตลอดเวลา   โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องทราบเลยว่าการทำงานหรือเหตุการณ์เบื้องหลังเป็นเช่นไร
นิยามความหมายของคำหลักๆ  3 คำ ที่เกี่ยวข้องกับ  Cloud Computing  ดังต่อไปนี้
1.       ความต้องการ (Requirement)  คือโจทย์ปัญหาที่ผู้ใช้ต้องการให้ระบบคอมพิวเตอร์แก้ไขปัญหาหรือตอบปัญหาตาม ที่ผู้ใช้กำหนดได้ ยกตัวอย่างเช่น ความต้องการพื้นที่จัดเก็บข้อมูลขนาด 1,000,000 GB, ความต้องการประมวลผลโปรแกรมแบบขนานเพื่อค้นหายารักษาโรคไข้หวัดนกให้ได้สูตร ยาภายใน 90 วัน, ความต้องการโปรแกรมและพลังการประมวลผลสำหรับสร้างภาพยนต์แอนนิเมชันความยาว 2 ชั่วโมงให้แล้วเสร็จภายใน 4 เดือน, และความต้องการค้นหาข้อมูลท่องเที่ยวและโปรแกรมทัวร์ในประเทศอิตาลีในราคา ที่ถูกที่สุดในโลกแต่ปลอดภัยในการเดินทางด้วย 
2.       ทรัพยากร (Resource) หมายถึง ปัจจัยหรือสรรพสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลหรือเกี่ยวข้องกับการแก้ไข ปัญหาตามโจทย์ที่ความต้องการของผู้ใช้ได้ระบุไว้ อาทิเช่น CPU, Memory (เช่น RAM), Storage (เช่น harddisk), Database, Information, Data, Network, Application Software, Remote Sensor เป็นต้น
3.       บริการ (Service) ถือว่าเป็นทรัพยากรและในทางกลับกันก็สามารถบอกได้ว่าทรัพยากรก็คือบริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านCloud Computingแล้ว เราจะใช้คำว่าบริการแทนคำว่าทรัพยากร คำว่าบริการหมายถึงการกระทำ (operation) เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่สนองต่อความต้องการ (requirement) แต่การกระทำของบริการจะเกิดขึ้นได้จำเป็นต้องพึ่งพาทรัพยากร โดยการใช้ทรัพยากรที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ปัญหาให้เกิดผลลัพธ์สนองต่อความต้อง การ
สำหรับ  Cloud Computing แล้ว ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องสนใจเลยว่าระบบเบื้องล่างทำงานอย่างไร ประกอบไปด้วยทรัพยากร (resource) อะไรบ้าง ผู้ใช้แค่ระบุความต้องการ (requirement) จากนั้นบริการ (service) ก็เพียงให้ผลลัพธ์แก่ผู้ใช้ ส่วนบริการจะไปจัดการกับทรัพยากรอย่างไรนั้นผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องสนใจ สรุปได้ว่า ผู้ใช้มองเห็นเพียงบริการซึ่งทำหน้าที่เสมือนซอฟต์แวร์ที่ทำงานตามโจทย์ของ ผู้ใช้โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรับทราบถึงทรัพยากรที่แท้จริงว่ามีอะไรบ้างและถูกจัดการเช่นไร หรือไม่จำเป็นต้องทราบว่าทรัพยากรเหล่านั้นอยู่ที่ไหน
 Cloud computing เป็น Internet - based computing ภารกิจเร่งด่วนร่วมกันทรัพยากรซอฟต์แวร์และข้อมูลให้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ต้องการ เช่น ตารางไฟฟ้า Cloud computing เป็น ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ ต่อไปนี้เปลี่ยนจาก เมนเฟรม ถึง เซิร์ฟเวอร์ของลูกค้า ในช่วงต้นทศวรรษ 1980 มีรายละเอียดที่แยกจากผู้ใช้ที่ไม่ได้ต้องการความเชี่ยวชาญในหรือควบคุมโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยี"ในหมอก"ที่สนับสนุนพวกเขา คอมพิวเตอร์ Cloud อธิบายเสริมใหม่การบริโภคและรูปแบบการจัดส่งสาหรับบริการไอที ขึ้นอยู่กับอินเทอร์เน็ตและมันมักจะเกี่ยวข้องกับ over the - Internetบทบัญญัติของแบบไดนามิกส์ ที่ปรับขนาดได้ และมักจะ เสมือนจริง ทรัพยากร  เป็นพลอยและผลของความสะดวกในการเข้าถึงระยะไกลของการ คำนวณ เว็บไซต์โดยอินเทอร์เน็ต  นี้มักจะใช้เวลารูปแบบ web - based เครื่องมือหรือโปรแกรมที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงและใช้ผ่าน เว็บเบราเซอร์ เป็นถ้าเป็นคอมพิวเตอร์โปรแกรมที่ติดตั้งในประเทศของตัวเองบน  NIST ให้ค่อนข้างมากและวัตถุประสงค์เฉพาะ คำนิยามที่นี่ เมฆ "คำว่า" ใช้เป็น คำเปรียบเทียบ สาหรับอินเทอร์เน็ตตามที่เมฆวาดใช้ในอดีตถึงเครือข่ายโทรศัพท์แทน  และในภายหลังเพื่อแสดงถึงใน Internet แผนผังเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็น abstraction ของโครงสร้างพื้นฐานนั้นเป็น ให้คอมพิวเตอร์เมฆสามัญทั่วไปส่งมอบ งานธุรกิจออนไลน์ที่เข้าถึงได้จากบริการเว็บอื่นหรือซอฟต์แวร์เช่น เว็บเบราเซอร์ ในขณะที่ ซอฟแวร์ และ ข้อมูล จะถูกเก็บไว้ใน เซิร์ฟเวอร์ องค์ประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์มีเมฆปรับแต่งและการสร้างประสบการณ์ที่ผู้ใช้กำหนด ที่สุดคอมพิวเตอร์เมฆโครงสร้างประกอบด้วยบริการส่งผ่านศูนย์สามัญและสร้างในเซิร์ฟเวอร์ เมฆมักปรากฏเป็นจุดเดียวของใช้สำหรับการคำนวณความต้องการของผู้บริโภคในทุกข้อเสนอการค้าที่คาดว่าโดยทั่วไปเพื่อตอบสนอง คุณภาพการบริการ  ความต้องการของลูกค้าและมักจะมี ข้อตกลงระดับบริการ  ผู้ให้บริการหลัก ได้แก่ Microsoft ,Salesforce , Amazon และ Google
           
คุณสมบัติที่สำคัญของ Cloud Computing มีดังนี้
·           On-demand self-service หากต้องการใช้ ก็ต้องได้ใช้
·           Ubiquitous network access เข้าถึงได้ทุกที่ที่มี internet
·           Location independent resource pooling ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ต้องมีอยู่ทั่วโลกโดยไม่
      ขึ้นอยู่กับที่ใดที่หนึ่ง
·           Rapid Elasticity ต้องขยาย Resource ได้เร็ว
·           Pay per use ใช้เท่าไหร่ จ่ายเท่านั้น
         
Cloud computing กลุ่มมาจากลักษณะ แต่ไม่ควรสับสนกับ :
1. คอมพิวเตอร์อัตโนมัติ --"ระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถ จัดการตัวเอง " 
2. แบบ server - Client -- Client เซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์หมายกว้างให้กับ โปรแกรมการกระจาย ที่แตกต่างระหว่างผู้ให้บริการ (เซิร์ฟเวอร์) และ requesters บริการ (ลูกค้า) 
3. Grid computing --"ของแบบ การคานวณการกระจาย และ การคานวณแบบขนาน ภารกิจเร่งด่วนและเสมือนคอมพิวเตอร์ super'ประกอบด้วย กลุ่ม ของเครือข่าย, คู่หลวม คอมพิวเตอร์แสดงในคอนเสิร์ตเพื่อดาเนินการมาก"
4. คอมพิวเตอร์ Mainframe -- เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพโดยใช้ส่วนใหญ่องค์กรขนาดใหญ่สาหรับงานที่สาคัญโดยปกติการประมวลผลข้อมูลจานวนมากเช่น สามะโน อุตสาหกรรมและสถิติผู้บริโภค การวางแผนทรัพยากรขององค์กร และการเงิน การประมวลผลรายการ 
5. คอมพิวเตอร์  Utility – บรรจุภัณฑ์ " ของ ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ เช่นการคำนวณและการเก็บรักษาเป็นบริการ metered คล้ายกับประเพณี สาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า "
6. Peer - to - peer -- สถาปัตยกรรมกระจายโดยไม่จาเป็นต้องประสานงานกลางให้กับผู้ถูกในเวลาเดียวกันผู้ผลิตและผู้บริโภคทรัพยากร (ตรงกันข้ามกับรูปแบบ client - server ดั้งเดิม)

ทำไมต้องเป็น Cloud
สาเหตุที่มีชื่อว่า Cloud Computing ก็มาจากสัญลักษณ์รูปเมฆ (Cloud) ที่เราใช้แทนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ลองดูตัวอย่างได้จากโปรแกรมMicrosoft Visio อย่างเวลาเราจะวาดแผนผังเครือข่าย สัญลักษณ์ของเครือข่ายอินเตอร์เน็ตก็คือรูปเมฆ
ในเมื่อรูปเมฆแทนอินเตอร์เน็ต แล้วทำไมอินเตอร์เน็ตจึงไปเกี่ยวกับCloud Computingได้? คำตอบมาจากการที่เราต่อคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ต่างๆเข้ากับเครือข่าย อินเตอร์เน็ต เราก็สามารถได้บริการหรือได้ใช้ทรัพยากรที่อยู่ระยะไกลเพื่อสนองต่อความต้อง การของเราได้นั่นเอง นี่จึงเป็นสาเหตุที่เขามองว่า Cloud Computing คือเมฆที่ปกคลุมทรัพยากรและบริการอยู่มากมาย เทียบได้กับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่ต่อกับบริการและทรัพยากรจำนวนมหาศาล เมื่อเป็นCloud Computing เราจะมองว่าอินเตอร์เน็ตคือเมฆ และเมื่อไหร่ที่เราต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับเมฆแล้ว เราก็สามารถเข้าถึงและใช้ทรัพยากรจำนวนมหาศาลที่ต่อกับเมฆเทียบ ได้กับเมฆปกคลุมทรัพยากรคอมพิวเตอร์และผู้ใช้จำนวนมหาศาลไว้อยู่ ทั้งนี้ผู้ใช้มองเห็นเมฆผ่านทางบริการที่จะนำพาผู้ใช้เข้าถึงพลังในการ ประมวลผลและทรัพยากรต่างๆที่อยู่ใต้เมฆ หรือภายใต้ท้องฟ้าเดียวกันคือเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนั่นเอง
มีผู้เชี่ยวชาญหลายท่านกล่าวว่าเนื่องด้วย Web 2.0 อันเป็นยุคของอินเตอร์เน็ตที่รุ่งเรืองในเรื่องของสมาคมออนโลน์หรือสังคมดิจิตอล เป็นเหตุให้ผู้คนจำนวนมากเข้าถึงบริการ World Wide Web (WWW)เพื่อขอใช้บริการที่มีความหลากหลาย และการใช้บริการเริ่มจะทวีคูณเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆและถี่ขึ้นเรื่อยๆ เราจะพบว่าเราอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานอินเตอร์เน็ตมากขึ้น ไม่ใช่แค่เพียง chat, เช็ค email,และเปิดหน้าเว็บเพื่ออ่านข่าวเท่านั้น หากแต่เป็นการใช้งานเพื่อเข้าสังคมผ่านGroup และ Web board รวมไปถึงBlogส่วนตัว และ Community อย่าง Hi5 หรือ Facebook รวมไปถึงการแชร์ไฟล์ต่างๆไม่ว่าจะแชร์รูปภาพผ่าน Flickr แชร์วิดีโอผ่านYoutube รวมไปถึงการเข้าไปใช้งานapplicationต่างๆที่ออนไลน์บนโลกอินเตอร์เน็ต อย่างที่ Hi5 และ Facebook ได้บริการ application แบบต่างๆไว้ให้ผู้ใช้สามารถติดตั้งไว้บนหน้าเว็บส่วนตัวได้ และอย่างที่ Google ได้เตรียม Google Doc ไว้เป็นโปรแกรมสร้างเอกสารที่สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา
เราจะเห็นตัวอย่างของ Web 2.0 ที่เป็นจุดพลิกผลันให้เกิด Cloud Computing ได้จาก Google Apps ที่รวมapplicationต่างๆผ่านจุดเดียว รวมไปถึงบริการที่มีอยู่มากมาย ตั้งแต่ search enginegmail,picasagoogle videogoogle docgoogle calendaryoutubegoogle mapsgoogle reader และ blogger เป็นต้น และเมื่อไหร่ก็ตามที่บริการและapplicationต่างๆเหล่านี้ทำงานร่วมกันเสมือน เป็นระบบเดียว รวมไปถึงสามารถแชร์ทรัพยากรและใช้งานร่วมกันระหว่างผู้ใช้อื่นๆได้ก็จะทำให้ เกิด Cloud computing ขึ้นมาในที่สุด และตัวอย่างของความสำเร็จนี้เกิดขึ้นจริง แล้ว ในกรณีระหว่างSalesforce.com และ Google ได้ร่วมมือกันสร้างเครือข่ายดังกล่าวขึ้นเพื่อการทำงานร่วมกันระหว่าง พนักงานขายของบริษัทเดียวกันหรือแม้แต่ระหว่างบริษัท ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการขายสินค้าและบริการได้มากยิ่งขึ้น

ตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จ
ตัวอย่างส่วนหนึ่งของระบบหรือบริษัทที่กำลังใช้ Cloud Computing ได้แก่ ระบบ Timesmachine ของNew York Times ที่ใช้บริการของ Amazon EC2 ในการสังเคราะห์ข่าวและจัดเก็บข่าวตั้งแต่ ค.ศ.1851 ทั้งนี้การรวบรวมข่าวจำเป็นต้องมีการแปลงข้อมูลของข่าว และเนื่องจากข่าวมีจำนวนมหาศาลจึงต้องใช้พลังในการประมวลผลเพิ่มมากขึ้นตาม ไปด้วย และจำเป็นต้องใช้พื้นที่จัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่สำหรับบันทึกข่าวเหล่านี้ [อ้างอิง]
การเขียนโปรแกรมเพื่อการประมวลผลบน Cloud Computing สามารถทำได้หลายวิธี แต่วิธีที่ถือได้ว่ากำลังนิยมมากในขณะนี้คือการใช้เครื่องมือที่ชื่อ Hadoop  (เมื่อมีโอกาสผมจะกลับมากล่าวถึง Hadoop อีกครั้งในบทความหน้า) ตัวอย่างเช่น New York Times ก็เลือกใช้ Hadoop สำหรับเขียนโปรแกรมเพื่อแปลงข้อมูลของข่าวบนคอมพิวเตอร์ (เสมือน) ที่เช่ากับ Amazon ไว้หลายร้อยเครื่อง โดยใช้เวลาในการประมวลผลทั้งหมดน้อยกว่า 36 ชั่วโมง
ตัวอย่างต่อไปคือเว็บ A9 ผู้ ให้บริการ search engine อันเป็นเครือข่ายของ Amazon ใช้ Hadoop เพื่อช่วยในการค้นหาข้อมูลที่รวบรวมไว้บนกลุ่มของคอมพิวเตอร์ที่เพิ่มและลด จำนวนได้
เว็บยอดนิยมอย่าง Facebook ก็เลือกใช้ Amazon EC2 สำหรับการขยายความสามารถของระบบให้รองรับจำนวนผู้ใช้จำนวนมากที่เข้ามาใช้ Facebook Apps(application ที่บริการบน Facebook)พร้อมๆกัน [อ้างอิง] สำหรับตัวอย่างอื่นๆที่ใช้งาน Amazon EC2 ท่านสามารถติดตามได้ที่เว็บของ Amazon [อ้างอิง] อย่างไรก็ดี ตัวอย่างที่แสดงบนเว็บท่านจะเห็นว่ายังมีไม่มาก แต่ในความเป็นจริงมีผู้ใช้บริการจาก Amazon EC2 จำนวนมาก เพียงแต่เขาไม่ยอมเปิดเผยข้อมูลว่าเขาเอา Amazon EC2 ไปใช้ในงานใดบ้าง
ตัวอย่างของทางฝั่ง Google ได้แก่ Google Apps ที่ได้ร่วมมือกับ Salesforce.com ตามที่ผได้อ้างอิงไว้แล้วก่อนหน้านี้ Gogrid (http://www.gogrid.com/) เป็นผู้ให้บริการ Cloud Computing อีกเจ้าหนึ่ง ที่ถือว่าเป็นคู่แข่งคนสำคัญของ Amazon EC2 ก็ได้จัดเตรียมเครื่องมือสำหรับสร้างคอมพิวเตอร์เสมือนตามแต่ลูกค้าต้องการ ได้ผ่านหน้าเว็บของ Gogrid ได้เลย และยังสนับสนุนระบบปฏิบัติการหลายยี่ห้อทั้ง Linux และ Windows ต่างจากทาง Amazon EC2 ที่ยังบริการแค่คอมพิวเตอร์เสมือนที่เป็น Linux อยู่ (หมายเหตุเหตุที่ Cloud Computing เลือกใช้ Virtual Machine หรือคอมพิวเตอร์เสมือนจะถูกอ้างอิงไว้ในบทความต่อไป)
Cloud Storage คือ สถานที่เก็บทรัพยากรสำหรับระบบ Cloud และการจัดเก็บข้อมูลเพื่ออนาคต
               Cloud Storage การจัดเก็บเป็นรูปแบบของเครือข่าย จัดเก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลจะถูกเก็บไว้ในเซิร์ฟเวอร์เสมือนหลายพื้นที่โดยทั่วไปของบุคคลที่สามแทนที่จะบนเซิร์ฟเวอร์ที่ทุ่มเท Hosting บริษัท ดาเนินงานศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่และผู้ที่ต้องการข้อมูลที่จะจัดซื้อ หรือความจุเช่าจากพวกเขาและใช้เก็บของพวกเขาต้องการ ศูนย์ข้อมูล ผู้ประกอบการในพื้นหลัง จาลอง ทรัพยากรตามความต้องการของลูกค้าและให้พวกเขาเป็นเซิร์ฟเวอร์เสมือนซึ่งลูกค้าสามารถบริหารจัดการเอง ร่างกายทรัพยากร span อาจผ่านเซิร์ฟเวอร์หลาย
             
Cloud Storage จะช่วยให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ ทุกเวลา และจาก ทุกประเภทอุปกรณ์ ตั้งแต่คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ Laptops Tablets จนถึง Smart Phones โดยที่ผู้ใช้สามารถวางใจในระบบการเก็บ รักษาข้อมูลที่ถูกจัดเก็บบนเซิร์ฟเวอร์ที่ตั้งอยู่ในศูนย์ข้อมูลอินเตอร์ เน็ตที่มีระบบรักษาความปลอดภัยและเทคโนโลยีมาตรฐานสากล นอกจากนั้น ยังมีระบบสำรองข้อมูลอัตโนมัติเพื่อป้องกันการสูญ หายของข้อมูล ทำให้สามารถช่วยให้ผู้ใช้สามารถกู้ข้อมูลกลับคืนได้ในกรณีเหตุสุดวิสัย เช่น การเกิดอุบัติภัย หรือการเกิดความเสียหายต่อระบบคอมพิวเตอร์ที่สำนักงานของผู้ใช้
            พื้นที่ให้บริการจัดเก็บไฟล์ข้อมูลนั้น อยู่ตรงที่ Cloud Storage มี อิสระในการปรับขีดความสามารถ สมรรถนะ และขนาดทรัพยากรได้ตามภาระงาน เนื่องจากไม่มีข้อจำกัดในการขยายทรัพยากรสำหรับผู้ให้บริการ เพราะมีความร่วมมือกับผู้ให้บริการบุคคลที่สามที่เป็นผู้จัดหาและจัดสรร ทรัพยากรอยู่แล้ว ดังนั้นไม่ว่าจำนวนโปรแกรมจะใช้ทรัพยากรในการประมวลผลมากขึ้นเท่าไร หรือต้องใช้พื้นที่ในการเก็บข้อมูลเพิ่มขึ้นอีกเท่าไหร่ ผู้ใช้บริการ และผู้ให้บริการ Cloud ไม่จำเป็นต้องกังวลในข้อจำกัดนี้ อย่างไรก็ตามเรื่องค่าใช้จ่ายนั้นจะขึ้นกับการจ่ายตามที่ใช้จริง (pay-per-use) และอาจมีเรื่องอื่นๆ อีกขึ้นอยู่กับข้อตกลงของแต่ละเจ้าที่ให้บริการ โดยปัจจุบันมีผู้ให้บริการอยู่มากมาย เช่น Google Apps, Google App Engine, IBM Blue Cloud, Amazon EC2 เป็นต้น
          
Cloud Storage แนวคิดแบบ Super Data Center โดยจะนำความสามารถด้านหน่วยความจำไปให้บริการบนเครือข่าย รวมทั้งบริการด้านฐานข้อมูล (Database) ซึ่งมีการคิดค่าบริการตามการใช้งานจริง เช่น Amazon Simple Storage Service Amazon Simple DB Live Mesh Mobile Me เป็นต้น

การทำงานกับ Stored Procedures
Stored Procedure เป็นออบเจ็กต์ของฐานข้อมูลที่สามารถจัดเก็บคำสั่ง SQL ในการประมวลผลข้อมูลและตรรกะทางธุรกิจ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานโดยการลดปริมาณข้อมูลที่ส่งผ่านไปมาของระบบเครือข่าย
         
 ประเภทของ Stored Procedures จะแบ่งออกได้เป็นสองประเภท: SQL Procedures และ External Proceduresสำหรับ SQL Procedures จะเขียนคำสั่งในการประมวลผลด้วยคำสั่ง SQL ส่วน External Proceduresจะเขียนคำสั่งในการประมวลผลด้วย host language แต่อย่างไรก็ตาม เราสามารถพิจารณาความแตกต่างที่สำคัญได้จากการทำงานและขั้นตอนการพัฒนา SQL Procedures และ External Procedures จะประกอบด้วยส่วนรายละเอียดของ Procedure (procedure definition) และคำสั่งในการประมวลผล ซึ่งในส่วนของรายละเอียดของ Procedure ทั้ง SQL Procedure และ External Procedure จะมีข้อกำหนดดังต่อไปนี้
 1. ชื่อของ Procedure
 2. พารามิเตอร์ที่ใช้ส่งข้อมูลเข้าและออก Procedure
 3. ภาษาที่ใช้เขียน Procedure ซึ่งสำหรับ SQL Procedure จะเป็นภาษา SQL
 4. ข้อมูลที่จะต้องใช้เมื่อ Procedure ถูกเรียกใช้งาน เช่น runtime options เวลาที่ Procedure
สามารถใช้ในการประมวลผลและผลลัพธ์ที่ถูกส่งคืนกลับมาจาก Procedure
             ดังนั้น 
Stored Procedures และฟังก์ชันเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญ และมีประโยชน์มากใน   กรณีที่เราต้องการการทำงานบางอย่างซึ่งไม่ได้มากับฐานข้อมูล ซึ่งผู้ใช้งาน Stored Procedures และฟังก์ชันจะต้องมีสิทธิ   ‘EXECUTE’ จึงจะสามารถทำงานกับ Stored Procedure หรือ ฟังก์ชันได้ ซึ่งการใช้งาน   Stored Procedure และฟังก์ชัน  ทำให้ปริมาณการใช้งานเครือข่ายลดลงส่งผลให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยการเก็บชุดคำสั่งในการประมวลผลไว้ที่ฐานข้อมูล รวมถึงทำให้ฐานข้อมูลมีความปลอดภัยมากขึ้นอีกด้วย

สรุปบทความ

เสน่ห์ของCloud และเทคโนโลยี Cloud จะช่วยขับเคลื่อนนักพัฒนาหลายๆคน, ISVs, Start-ups และ ระดับองค์กร จะช่วยกลั่นกรอง Cloud Service และประเมินความเหมาะสมในการใช้งานให้ดีขึ้น ทั้งต้นทุนที่ต่ำลง และไม่จำกัดในด้าน Scalability ทั้งด้าน Storage และ Infrastructure อีกทั้งการรับประกันการตรวจสอบ แต่อย่างไรก็ตาม คุณต้องจัดการการใช้งานบริการ Cloud Service อย่างระมัดระวัง และตระหนักว่า Application ทั้งหมดไม่สามารถใช้งานได้บน Cloud ซึ่ง Application หลายๆประเภท ทำงานอยู่บน Cloud  แต่อย่างไรก็ตามมีต้นทุนแฝงของโฮสต์ติ้งในบางโซลูชั่นบน Cloud โดยจะเห็นชัดมากขึ้นมากกว่าแบบเดิม พร้อมทั้งการพัฒนาทางสถาปัตยกรรมที่เพิ่มมากขึ้นและชัดเจนขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ 


วันอังคารที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ตอบข้อ 1
ข้อมูล ข่าวสาร  และ สารสนเทศ เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินงานทั้งของภาครัฐและเอกชน ข้อมูลและสารสนเทศเป็นทรัพยากรหลักที่ทุกองค์กรให้ความสำคัญ เนื่องมาจากการดำเนินงานทางธุรกิจมีความซับซ้อนมากขึ้นและมีการแข่งขันกันสูง ทำให้ข่าวสารเป็นสิ่งที่ทุกคนจำเป็นต้องรับทราบและเข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว

พีระมิดความรู้( Knowledge pyramid ) เป็นเครื่องมือที่จะทำให้เข้าใจในความแตกต่างระหว่าง
 Data , Information, Knowledge  และ  Wisdom รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างกัน
1.1    Data ( ข้อมูล ) คือ ข้อเท็จจริงที่ยังไม่มีการปรุงแต่งหรือประมวลผลใดๆ  อาจแบ่งเป็น  3 ประเภท คือ
1.        ข้อเท็จจริงที่เป็นจำนวน  ปริมาณ  ระยะทาง
2.        ข้อเท็จจริงที่ไม่เป็นตัวเลข เช่น ชื่อ ที่อยู่ ประวัติการศึกษา
3.        ข่าวสารที่ยังไม่ประเมิน เช่น รายงาน บันทึก คำสั่ง ระเบียบ กฎหมาย และเหตุการณ์หรือสภาพการณ์ต่างๆ
1.2     Information ( สารสนเทศ ) คือ ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ต่างๆ ที่ได้รับการสรุป คำนวณ จัดเรียง หรือ ประมวลแล้วจากข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบตามหลักวิชาการ จนได้เป็นข้อสรุป เพื่อนำมาเผยแพร่และใช้ประโยชน์ในงานด้านต่าง ๆ
1.3     Knowledge ( ความรู้ ) คือ สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้า หรือ ประสบการณ์ เป็นความรู้ที่ถูกพัฒนาขึ้นอีกระดับหนึ่ง เป็นความรู้ที่ได้ศึกษาจากสารสนเทศ จนเป็นความรู้ของตัวเอง รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติหรือทักษะความเข้าใจ

                      ความรู้ แบ่งเป็น 2 ประเภท
1.       ความรู้ฝังลึก ( tacit knowledge) คือ ความรู้ที่เกิดจากการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ การลงมือปฏิบัติ หรือเป็นพรสวรรค์ของตนเองที่มีอยู่ สิ่งเหล่านี้จัดเป็นความรู้ชนิดที่ยากต่อการถ่ายทอด หรือสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจ
2.        ความรู้ชัดแจ้ง ( explicit  knowledge) คือ  ความรู้ที่สามารถถ่ายทอด  หรือสื่อสารให้ ผู้อื่นเข้าใจได้ ความรู้ประเภทนี้ คือ ความรู้ที่ถูกเขียนออกมาเป็นตำรา  เป็นคู่มือ  หรือเอกสารต่างๆ
1.4    Wisdom (ความฉลาดหรือสติปัญญา) คือ การรวบรวมความรู้ วิเคราะห์  สังเคราะห์    เข้ากับ 
          ประสบการณ์และเหตุผลกลายเป็นภูมิปัญญา


ตอบข้อ 2
ระบบสารสนเทศ ( Information System) หมายถึง การรวบรวมองค์ประกอบต่างๆ  ( ข้อมูล การประมวลผล การเชื่อมโยง เครือข่าย ) เพื่อนำเข้า ( Input ) สู่ระบบใดๆ แล้วนำมาผ่านขบวนการบางอย่าง ( Process ) ที่อาจใช้คอมพิวเตอร์ช่วยเพื่อเรียบเรียง เปลี่ยนแปลงและจัดเก็บ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์(Output)ที่สามารถใช้สนับสนุนการตัดสินใจทางธุรกิจ
Input
 คือ การเก็บรวบรวมสมาชิกหรือองค์ประกอบของระบบ เช่น ข้อมูล ( data) หรือ สารสนเทศ
( Information) เพื่อนำไปทำการประมวลผลต่อไป เช่น การเก็บข้อมูลที่เป็นคะแนนสอบของนักศึกษา เพื่อที่จะนำไปสู่การคำนวณให้เป็นเกรดต่อไป การ Input ข้อมูลอาจจะกระทำได้โดยใช้มือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ได้ขึ้นอยู่กับองค์กรนั้นๆหรืออาจจะเป็นอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล ( input Device) อื่นๆ เช่น สแกนเนอร์ เครื่องบันทึกเสียง เป็นต้น
Process คือ การเปลี่ยนแปลง หรือแปรสภาพข้อมูลที่นำเข้าสู่ระบบ Input เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ output ที่สามารถใช้ในการตัดสินใจได้ โดยการเปลี่ยนแปลง หรือแปรสภาพ นั้นอาจเป็นการคำนวณ เปรียบเทียบหรือวิธีการอื่นๆ ก็ได้ เช่นจากคะแนนสอบของนักศึกษา เมื่อเข้าสู่ระบบแล้วทำการแปรสภาพคะแนนโดยการคำนวณให้เป็นเกรด และจัดเก็บไว้เพื่อใช้ในการออกรายงานผลการเรียนของนักศึกษาต่อไป
Output  คือ ผลลัพธ์ที่ได้เนื่องจากการประมวลผลข้อมูลหรือสารสนเทศ แสดงอยู่ในรูปแบบของ
รายงาน( Report)หรือเป็นแบบฟอร์มต่างๆเพื่อนำไปใช้ในการดำเนินงานทางธุรกิจต่อไป เช่น รายงานผลการเรียนของนักศึกษาซึ่งได้จากการคำนวณเกรดจากคะแนนสอบทั้งหมดของนักศึกษา รายงานยอดการสั่งซื้อวัตถุดิบรายเดือน รายงานยอดค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดรายสัปดาห์ เป็นต้น
Feedback คือ ผลลัพธ์ที่ทำให้เกิดการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ในการนำข้อมูลเข้าหรือ การประมวลผลข้อมูล เช่น ข้อผิดพลาดที่พบจากรายงานต่างๆนั้น ทำให้ทราบได้ว่า ในขณะนำข้อมูลเข้าหรือการประมวลผลนั้น อาจมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นทำให้เกิดการปรับปรุงพฤติกรรมในการทำงานขององค์กรเพื่อให้ความถูกต้องมากขึ้น ดังนั้น Feedback จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการทำงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลเป็นที่น่าพอใจ


ตอบข้อ 3
ระบบสารสนเทศในองค์กร:
องค์กร หมายถึง  บุคคลกลุ่มหนึ่งที่มารวมตัวกัน โดยมีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างร่วมกัน และดำเนินกิจกรรมบางอย่างร่วมกันอย่างมีขั้นตอนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ นั้น โดยมีทั้ง องค์กรที่แสวงหาผลกำไร คือองค์กรที่ดำเนินกิจกรรมเพื่อการแข่งขันทางเศรษฐกิจ เช่น บริษัท ห้างหุ้นส่วน ห้างสรรพสินค้า ร้านค้าต่างๆ และ องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร คือองค์กรที่ดำเนินกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์เป็นหลัก เช่น สมาคม สถาบัน มูลนิธิ เป็นต้น
บทบาทขององค์กรที่มีต่อระบบสารสนเทศ
องค์กรมีผลต่อระบบสารสนเทศในหลายด้านพอสรุปได้ดังนี้คือ
1.การตัดสินใจเรื่องบทบาทของระบบสารสนเทศและการนำระบบสารสนเทศมาใช้ กล่าวคือ องค์กรจะต้องทำการพิจารณาว่าจะนำระบบสารสนเทศมาใช้ให้เกิดความได้เปรียบทาง การแข่งขัน หรือจะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้แทนพนักงานเท่านั้น หรือที่เรียกว่า Automation หากองค์กรให้ความสำคัญต่อระบบสารสนเทศในการเป็นทรัพยากรที่ใช้ในการแข่งขัน องค์กรอาจจะต้องมีการจัดเตรียมงบประมาณในการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้ มากขึ้น เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงานของระบบให้ดีขึ้นเรื่อยๆ
2.การตัดสินใจว่าจะพัฒนาระบบสารสนเทศอย่างไร ได้แก่ การตัดสินใจที่จะพัฒนาระบบสารสนเทศด้วยหน่วยงานภายใน หรือจะจ้างหน่วยงานภายนอกมาทำการพัฒนาที่เรียกว่า Outsourcing หากองค์กรจะทำการพัฒนาด้วยตัวเอง องค์กรจะต้องมีหน่วยงานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศภายในที่มีความรู้ ความสามารถเพียงพอในการจะดำเนินการดังกล่าวได้
3. การตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดตั้งหน่วยงานสารสนเทศ ได้แก่ การตัดสินใจที่จะมีหน่วยงานสารสนเทศภายในแบบใด เช่น เป็นเพียงหน่วยงานสนับสนุนการบำรุงรักษาระบบสารสนเทศเท่านั้น หรือจะเป็นหน่วยงานสารสนเทศหลักในการพัฒนาระบบด้วยตัวเอง
4. การตัดสินใจว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่ต้องคำนึงถึงในการพัฒนาระบบสารสนเทศ เช่น จะต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานหรือไม่เพื่อรองรับการนำระบบสารสนเทศ หรือเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในองค์กร และปรับปรุงอย่างไร เป็นต้น

การนำระบบสนเทศมาใช้ในองค์กร ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กรมากมาย ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
1. ทำให้ผู้บริหารมีสารสนเทศ(Information)มาช่วยในการตัดสินใจ การวิเคราะห์ การจัดการ และการควบคุมที่ดีขึ้น
2.ทำให้ผู้บริหารสามารถจัดการการงานที่มีประสิทธิภาพขึ้น ด้วยการเสริมทางด้านการติดต่อสื่อสารที่สะดวกรวดเร็ว
3.ทรัพยากรสารสนเทศมีความสำคัญมากขึ้น และถือเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรเช่นเดียวกับทรัพยากรด้านอื่นๆ ดังนั้นการจัดสรรงบประมาณการจัดซื้อหรือหรือหามาซึ่งทรัพยากรสารสนเทศถือ เป็นส่วนหนึ่งของแผนกลยุทธ์ขององค์กร
4.ผู้บริหารทุกคนถือว่ามีส่วนสำคัญในการจัดการ การใช้ประโยชน์ของทรัพยากรสารสนเทศ
5. ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง วัฒนธรรม และอิทธิพลทางการเมืองในองค์กรหน่วยงานสารสนเทศหรือหน่วยงานทีมีส่วนในการ เก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลจะมีความสำคัญมากขึ้นในองค์กร
ระบบสารสนเทศที่นำไปใช้ในองค์กร ในปัจจุบันนั้นที่สำคัญมี 3 อย่าง คือ
1.นำไปใช้ในการประมวลผลรายการ และการจัดทำรายงาน
2.นำไปใช้ในการช่วยการตัดสินใจ
3.นำไปใช้ในการช่วยการติดต่อสื่อสาร                                   

 เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT)

เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT) หมายถึง  การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสารสนเทศ ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์ และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศรวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ที่จะรวบรวม จัดเก็บ ใช้งาน ส่งต่อ หรือสื่อสารระหว่างกัน เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องโดยตรงกับเครื่องมือเครื่องใช้ในการจัดการสารสนเทศ ซึ่งได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์รอบข้าง ขั้นตอน วิธีการดำเนินการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ เกี่ยวข้องกับตัวข้อมูล เกี่ยวข้องกับบุคลากร เกี่ยวข้องกับกรรมวิธีการดำเนินงานเพื่อให้ข้อมูลเกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้แล้วยังรวมไปถึง โทรทัศน์ วิทยุ โทรศัพท์ โทรสาร หนังสือพิมพ์ นิตยสารต่าง ๆ
Information Technology หรือ IT คือ การประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในระบบสารสนเทศ ตั้งแต่กระบวนการจัดเก็บ ประมวลผล และการเผยแพร่สารสนเทศ เพื่อช่วยให้ได้สารสนเทศที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ โดยเทคโนโลยีสารสนเทศ อาจประกอบด้วย
1. เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้สำนักงาน อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมต่างๆ รวมทั้งซอฟท์แวร์ทั้งแบบสำเร็จรูปและแบบพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในงานเฉพาะด้าน ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้จัดเป็นเครื่องมือทันสมัย และใช้เทคโนโลยีระดับสูง (High Technology)
2. กระบวนการในการนำอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ข้างต้นมาใช้งาน เพื่อรวบรวม จัดเก็บ ประมวลผล และแสดงผลลัพธ์เป็นสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป เช่น การจัดเก็บข้อมูลในลักษณะของฐานข้อมูล เป็นต้น

สรุป
เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บ ประมวลผล  และเผยแพร่ผ่านทางสารสนเทศ ซึ่งได้แก่ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการสื่อสาร และเทคโนโลยีคมนาคม
         
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
                ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems) (MIS) เป็นระบบเกี่ยวกับการจัด หาคน หรือข้อมูลที่สัมพันธ์กับข้อมูล เพื่อการดำเนินงานขององค์การ เช่น การใช้ MIS เพื่อช่วยเหลือกิจกรรมของลูกจ้าง เจ้าของกิจการ ลูกค้า และบุคคลอื่นที่เจ้ามาเกี่ยวข้องกับองค์การ การประมวลผลของข้อมูลจะช่วยแบ่งภาระการ ทำงานและยังสามารถนำ สารสนเทศมา ช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหาร หรือ MIS เป็นระบบซึ่งรวมความสามารถของผู้ใช้งานและคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศเพื่อการดำเนินงานการจัดการ และการตัดสินใจในองค์การ หรือ MIS หมายถึงการเก็บรวบรวมข้อมูล การ ประมวลผล และการสร้างสารสนเทศขึ้นมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจ การประสานงาน และการควบคุม นอกจากนั้นยังช่วยผู้บริหาร และ พนักงานในการวิเคราะห์ปัญหา แก้ปัญหา และสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ โดย MIS จะต้องใช้อุปกรณ์ทางคอมพิวเตอร์ (Hardware) และ โปรแกรม (Software) ร่วมกับผู้ใช้ (Peopleware) เพื่อก่อให้เกิดความสำเร็จในการได้มาซึ่งสารสนเทศที่มีประโยชน์          
  
ตอบข้อ 4
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology): IT หมายถึงเทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ การประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และวิทยาการต่างๆ เพื่อความสะดวกและเพิ่มความสามารถของคนในกระบวนการจัดการสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในการรวบรวมการจัดเก็บ การประมวลผลของข้อมูล การพิมพ์ การสร้างรายงาน การสื่อสารข้อมูล การเก็บรักษา และเผยแพร่ข้อมูลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพความถูกต้อง ความแม่นยำ และความรวดเร็วให้ทันต่อการนำไปใช้ประโยชน์ เทคโนโลยีสารสนเทศยังรวมถึงเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดระบบการให้บริการ การใช้ และการดูแลข้อมูลด้วย
ะบบสารสนเทศ (Information System): IS  หมายถึง ระบบที่ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ ระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ ระบบเครือข่ายฐานข้อมูลผู้พัฒนาระบบ ผู้ใช้ระบบ พนักงานที่เกี่ยวข้อง มีการใช้ชุดขององค์ประกอบที่ประกอบด้วยกลุ่มคน  กระบวนการ และทรัพยากร (H/W, S/W, P/W) ที่ทำหน้าที่รวบรวม,การตรวจสอบข้อมูล,จัดเก็บข้อมูล,การวิเคราะห์ข้อมูล,การนำข้อมูลไปใช้หรือประมวลผลข้อมูลเพื่อสร้างสารสนเทศ และส่งผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่ได้ให้ผู้ใช้เพื่อช่วยสนับสนุนการทำงาน,การตัดสินใจ,การวางแผน,การบริหาร,การควบคุม,การวิเคราะห์และติดตามผลการดำเนินงานขององค์กรนั้นๆ โดยอาศัยบุคคลและเทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินการ

ความเหมือนกันของ  IS และ IT คือ วิธีกระบวณการจัดเก็บ รวบรวม การประมวลและแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปสารสนเทศ ยังเป็นการ
นำเสนอสารสนเทศให้เป็นปัจจุบันทันเหตุการณ์เพื่อช่วยเพิ่มความสามารถของคนในกระบวนการจัดการสารสนเทศและช่วยในการแก้ปัญหา
รวมไปถึงเพิ่มความสะดวกสบายในการใช้ข้อมูล
   
ความต่างกันของ  IS และ IT คือ  เทคโนโลยีสารสนเทศ :IT จะเป็นการใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยี ความก้าวหน้ามาประยุกต์ใช้ในการจัดเก็บข้อมูล ประมวลผลรวมไปถึงการเก็บรักษาและเผยแพร่ข้อมูล  แต่ระบบสารสนเทศ :IS  จะเป็นการใช้ระบบ กระบวนการการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลและนำมาเรียบเรียงทำให้เป็นสารสนเทศ
โดยอาศัยบุคคลและคอมพิวเตอร์ในการดำเนินการ

สรุปได้สั้นๆ ได้ว่า 
Technology คือ วิทยาการ ความก้าวหน้า 
System คือ  ระบบ กระบวณการการจัดการ


ตอบข้อ 5

ประเภทขของระบบสารสนเทศ มี 5 ประเภท ได้แก่
 1.   ระบบการประมวลผลทางธุรกิจ    (Transaction Processing System : TPS)
ระบบการประมวลผล เป็นการประมวลผลแบบวันต่อวัน เช่น การรับ-จ่ายบิล ระบบควบคุมสินค้าคงคลัง ระบบการรับ-จ่าย สินค้า เป็นต้น ใช้งานในระดับผู้ปฏิบัติการ ระบบนี้ เป็นระบบสารสนเทศลำดับแรกที่ได้รับการพัฒนาให้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์

 2 . ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ    (Management Information System : MIS)
 คือ ระบบที่เกี่ยวข้องกับผู้ บริหารที่ต้องการการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้ประโยชน์มากกว่าการ ช่วยงานแบบวันต่อวัน ประกอบไปด้วยโปรแกรมต่าง ที่จัดทำขึ้นเป็นพิเศษเพื่อขยายขอบเขตความสามารถของธุรกิจ

3.  ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System : DSS)
 คือระบบที่ทำหน้าที่จัดเตรียม สารสนเทศเพื่อช่วยในการตัดสินใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อช่วย ในการตัดสินใจที่ไม่ได้คาดไว้ล่วงหน้า เช่น การตัดสิน ใจเกี่ยวกับการรวมบริษัทและการหาบริษัทร่วม การขยายโรงงาน ผลิตภัณฑ์ใหม่


4  ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (Executive Information System : EIS)
 คือ EIS ประเภท พิเศษ ที่ถูกพัฒนาสำหรับผู้บริหารระดับสูงโดยเฉพาะช่วย ให้ผู้บริหารระดับสูงที่ไม่คุ้นเคยกับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถใช้ระบบ สารสนเทศได้ง่ายขึ้น โดยใช้เมาส์เลื่อนหรือจอภาพแบบ สัมผัส เพื่อเชื่อมโยงข่าวสารระหว่างกัน ทำให้ผู้ บริหารไม่ต้องจำคำสั่ง


5    ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Artificial Intelligence/Expert System : AI/ES)
 หมายถึง ระบบที่ทำให้เครื่อง คอมพิวเตอร์กลายเป็นผู้ชำนาญการณ์ในสาขาใดสาขาหนึ่ง โดยได้รับ ความรู้จากมนุษย์ผู้เชี่ยวชาญเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์เพื่อให้คอมพิวเตอร์ สามารถวิเคราะห์เหตุผล เพื่อตัดสินใจ ระบบคอมพิวเตอร์นี้ประกอบด้วย ฐานความรู้(Knowledge Base) และกฎข้อวินิจฉัย(Inference Rule) ซึ่งเป็นความ สามารถเฉพาะที่ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถตัดสินใจได้เอง เช่น การวินิจฉัย ความผิดพลาดของรถจักรดีเซลไฟฟ้า โดยใช้คอมพิวเตอร์




เอกสารอ้างอิง

วรพจน์  พรหมจักร     สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า   มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
http://www.kmitl.ac.th/agritech/nutthakorn/04093009_2204/isweb/Lesson%2022.htm.สืบค้นเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2556
http://www.learners.in.th/blog/mooddang/256435.สืบค้นเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2556